คิดอะไรทำไมถึงไปเรียน Landmark...
5 เหตุผลที่ผมยอมไป Landmark
ต้องขอออกตัวก่อนเลยนะขอรับว่า
ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านบทความของพระอาจารย์พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป
ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของกระผมเองถึงแม้ว่าช่วงหลังๆจะไม่ได้มีเวลาพบเจอพระอาจารย์ แต่ก็ติดตามผลงานพระอาจารย์ท่านตลอด
ล่าสุดพระอาจารย์ได้แสดงความคิดเห็นในประเด็นหัวข้อ "5 เหตุผลที่ไม่ยอมไปแลนด์มาร์ค" ทาง blogspot
(http://prasit009.blogspot.com/2014/10/5.html?spref=fb) อ่านแล้ว
เห็นด้วยกับพระอาจารย์ที่ได้สื่อสารอย่างตรงไปตรงมาครับ
ผู้เขียนปกติก็ไม่ชอบเขียนอะไรที่เป็นกิจจะลักษณะ
ไม่มีงานเขียนเป็นชิ้นเป็นอัน....ไม่มีแฟนคลับเป็นของตัวเองหรอกนะครับ
แต่ด้วยได้ฟังการสื่อสารจากกัลยาณมิตรทั้งหลาย...จบลงท้ายด้วยความห่วงใย...เลยไม่รู้จะอธิบายยังไง...ให้เข้าใจได้ว่าแท้จริงแล้ว Landmark คืออะไร ???
1.ไม่ต่างอะไรกับการอบรมทั่วไป
แรกเริ่มเดิมที ได้ยินคำว่า
Landmark จากพระอาจารย์กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม..เพราะเคยได้ฟังมาว่าพระอาจารย์ที่เป็นพระธรรมวิทยากรของกลุ่มใต้ร่มพุทธธรรมล้วนผ่านการศึกษาหลักสูตร
Landmark มาก่อน...ยิ่งไปกว่านั้น
เห็นพระวิทยากรกลุ่มเพื่อชีวิตดีงามหลายรูปก็เริ่มสนใจและไปศึกษา Landmark กันหลายรูป
ไม่ว่าจะเป็นพระอาจารย์กาจญ์ พระอาจารย์นกเอี้ยง และพระอาจารย์นนท์
ผู้เขียนสังเกตเห็นบางอย่างของพระอาจารย์ทั้ง 3 รูปเปลี่ยนไป...พระอาจารย์เปลี้ยนไปๆๆ..คือ
เริ่มคุยกับพระอาจารย์ไม่รู้เรื่อง....ไม่รู้ว่าพระอาจารย์คุยไม่รู้เรื่อง...หรือเราฟังไม่เข้าใจ...เอาเป็นว่า...งง...ก็แล้วกันครับ...แต่สิ่งที่สัมผัสได้คือพลังและแววตาที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความจริงใจเวลาได้สนทนากับท่าน...และรู้สึกว่าท่านจะอารมดีผิดปกติ...ยิ้มตลอดเวลา
ผู้เขียนก็มานั่งนึกว่าแอ๊ะ...Landmark เขาปลูกฝังแนวคิดอะไรให้พระอาจารย์นะ..ทำไมถึงได้เปลี่ยนไปได้ขนาดนี้...เกิดคำถามขึ้นในใจ...และคิดไว้ว่าถ้ามีโอกาสจะขอเข้าไปลองฟังดูสักครั้ง....ก่อนหน้านี้พระอาจารย์กาจญ์ท่านก็ชวนหลายครั้งแต่ก็มีหลายสิ่งที่ต้องทำให้อดไป
Landmark นั่นคือ
เราสร้างเหตุผลมารองรับความชอบธรรมทางความคิดของตัวเราเองปิดกั้นตัวเองจากสิ่งที่เราก็ยังไม่รู้ว่า
Landmark คืออะไร
ในคราวประชุมประจำเดือนของกลุ่มผู้บริหารกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม
ได้มีโอกาสสนทนากับพระอาจารย์กาจญ์ และท่านก็ชวนเป็นรอบที่สอง
กลับมาถึงวัดก็มานั่งนึกคนเดียวว่า..ทำไม...อะไร..นะ กับการศึกษานี้
ผู้เขียนตัดสินใจไปเพียงเพราะคำพูดของพระอาจารย์ท่านที่ว่า
"ลองอนุญาตให้ตนเองได้รับการศึกษานี้ดูนะ" 23 มีนาคม 2557 เป็นครั้งแรกกับการรับฟังแนวทางการศึกษา
Landmark หลักจากจบบทสนทนาผู้เขียนก็มีความเห็นว่า
ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากที่เรารู้หรือเข้าใจอยู่แล้วและไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องเข้ารับการศึกษา
ก่อนกลับพระอาจารย์กาจญ์ท่านถามว่า เป็นไง สนใจไหม
ผู้เขียนตอบท่านไปว่ายังไม่พร้อมครับ
ท่านก็เลยถามต่อว่าติดขัดเรื่องอะไร...ในใจเราก็คิดว่าค่าเรียนตั้ง 18,000 บาท คงเป็นเหตุผลที่ดีเพราะถ้าตอบว่าไม่มีเงินลงทะเบียนเรียนทุกอย่างก็คงจบ...ท่านถามต่อว่าเรื่องค่าใช้จ่ายใช่ไหม..?(เหมือนจะเดาใจเราออก).ไม่เป็นไรผมจะยืนให้ท่านนะพระอาจารย์กานญ์กล่าว...
สุดท้ายก็ได้มีโอกาสได้ลองศึกษา ในหลักสูตรแรก คือ The Landmark Forum, ต่อด้วย The Landmark Forum in
Action, The Landmark Advanced Course และหลักสูตรสุดท้ายที่กำลังจะลงในปลายเดือนธันวาคม
คือ Introduction
Leaders Program หรือ ILP23 ซึ่งใช้เวลาศึกษา
กว่า 6 เดือน (อยู่ในระหว่างการพิจารณา)
ประเด็นอยู่ที่ว่าไม่ต่างอะไรกับการอบอมทั่วไป
ในความที่ไม่ต่างมันมีความต่างซ่อนอยู่ เหมือนกับเราบอกว่า ไม่มีอะไรในความว่าง
แต่ในความว่างมันยังมีอากาศซ่อนอยู่ คนที่พร้อมก็ย่อมจะได้อะไรเยอะกว่าคนที่ไม่พร้อม
ถูกของพระอาจารย์ คนที่ไม่พร้อมต่างก็มีเหตุผลต่างๆของความไม่พร้อม
การจะพัฒนาตนเองและดึกเอาศักยภาพของตนเองออกมาใช้ได้อย่างเต็มที่
ถามว่าเราจะทำอย่างไรละให้เราพร้อม
เราก็ต้องฝึกฝนและพัฒนาตนเอง...หากเราปล่อยให้ความไม่พร้อมมาเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเอง...
ถามว่าแล้วเมื่อไหร่ละเราจะพร้อม...???
การอบรมวัดด้วยความรู้สึกส่วนตัว
การอบรมทุกหลักสูตรล้วนมีเป้าประสงค์ที่ต้องการให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และความเข้าใจ
ได้ผลลัพธ์ ตามหลักสูตรนั้นๆ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อผู้เข้ารับการอบรมเอง ต่อหน่วยงาน สังคม และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้
สำคัญที่ว่าจะอบรมเรื่องอะไร ผลลัพธ์ที่ได้จะวัดแค่ความรู้สึกส่วนตัวเพียงอย่างเดียวคงไม่พอ
เพราะความรู้สึกส่วนตัวของแต่ละคนวัดได้ยาก
และก็ไม่รู้จะเอาอะไรมาเป็นตัวชี้วัดความรู้สึกของคน หากแต่ต้องพิจารณาถึงผลลัพธ์ที่ได้หลังจากผ่านการอบรมไปแล้วว่า
ผู้ผ่านการอบรมสร้างผลลัพธ์ใหม่อะไรบ้างหรือไม่
คุ้มค่าหรือไม่กับทรัพยากรที่ต้องเสียไป หากพิจารณาไตรตรองให้ดีการศึกษา Landmark
ถือเป็นหลักสูตรการศึกษาที่จะช่วยพัฒนาตนเองได้ดีหลักสูตรหนึ่งครับ
2.ไม่ต่างอะไรกับการอ่านหนังสือ How
to
หนังสือถือเป็นคลังของความรู้
เป็นคลังของปัญญา ผู้รู้ นักปราชญ์
ทั้งหลายต่างก็ได้บันทึกความรู้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
อนุชนคนรุ่นหลังเกิดไม่ทันผู้รู้
นักปราชญ์ทั้งหลายก็ได้อาศัยบันทึกของท่านนี้แหละเป็นเสมือนเข็มทิศนำทางได้
ในระดับหนึ่ง แต่ก็มีผู้เขียนอีกมามายเช่นกันที่
พยายามสรรสร้างแนวคิดของตนเองมาถ่ายทอดในรูปแบบหนังสือเพื่อสื่อสารให้ผู้อ่านคล้อยตามแนวคิดของตน
แต่ใช่ว่าจะได้ผลตามที่ตนต้องการเสมอไป
การศึกษาหลักสูตร Landmark ไม่ต่างอะไรกับการอ่านหนังสือ How to ผู้เขียนมีความเห็นว่าในความคิดที่ว่าไม่ต่างนั่นแหละ
มันมีความต่างซ่อนอยู่ “การฟังจากปากของท่าน ก็ย่อมต่างจากการอ่านหนังสือของท่าน”
แล้วในระดับหนึ่ง ผู้อ่าน เหมือนได้เติมพลังชีวิต ทุก ๆ ครั้งที่อ่านจบแต่ละเล่ม
หัวใจจะปราโมทย์ ปีติ อิ่มเอมใจ ศรัทธาต่อชีวิต ปลุกพลังแห่งความหวังขึ้น กระทั้งคิดว่า
ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้เลย ในชีวิตนี้ ก็ถูกของพระอาจารย์อีกนั่นแหละ หากแต่ว่าความเป็นไปได้ หรือความเป็นไปไม่ได้ มันก็มาคู่กันเสมอ
เหมือนโลกธรรม 8 ที่ ลาภยศ ก็มาคู่กับความเสื่อมลาภยศ ความทุกข์ ก็มาคู่กับความสุข คำสรรเสริญเยินยอ
ก็มาพร้อมกับคำติฉินนินทา เป็นธรรมดาของโลกมนุษย์ละครับ เฉกเช่นเดียวกับความเป็นไปได้
ก็อาจจะมาพร้อมกับความเป็นไปไม่ได้ด้วยเช่นกัน....สำคัญอยู่ที่ว่าเราจะรู้เท่าทันและอยู่กับมันอย่างไม่ยินดียินร้ายได้อย่างไร....คือไม่สุขไม่ทุกข์ใจไปตามสภาวะที่มันเปลี่ยนแปลงไป...ตามหลักไตรลักษณ์นั่นเอง...
จิตมีหน้าที่รับรู้อารมณ์ เมื่อคนเราไม่รู้เท่าทันจิตใจของตนปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล
หรือความเป็นจริง...ประมาทขาดสติจนแยกแยะไม่ออกว่าอะไรคืออะไร
ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ชอบมากเกินไป หรือให้ความสำคัญกับสิ่งที่ไม่ปรารถนาน้อยกว่า...เมื่อไม่ได้ดังใจในเรื่องที่คาดหวังไว้...ทำใจไม่ได้...ความทุกข์ก็สามารถเกิดขึ้นได้ตลอด...
Landmark
ให้เครื่องมือที่สำคัญที่จะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้...เครื่องมือ Landmark ไม่ขัดแย้งกับหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา เลยแม้แต่น้อย....(หากผู้ที่ศึกษาพระพุทธศาสนามา...เมื่อได้รับฟังเครื่องมือของ
Landmark
จะทำให้เราเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้รวดเร็วขึ้นด้วยซ้ำไป)เพราะเครื่องมือต่างๆ
ไม่เกี่ยวกับความดี หรือความไม่ดี ไม่เกี่ยวกับศีลธรรม หรือ คุณธรรม จริยธรรม
แต่เป็นเครื่องมือ
แค่เครื่องมือที่ใช้ในการแยกแยะจริงๆครับ....ไม่เข้าใจก็งง....ต่อไปนะครับ
3. สิ่งที่มองเห็นชัดที่สุดในแลนด์มาร์ค
หากจะให้นิยามว่า Landmark เป็นธุรกิจหรือไม่
คนทั่วไปที่ไม่รู้จัก Landmark ก็ต้องบอกว่า Landmark
เป็นธุรกิจ ผู้เขียนเองก็ยังมองว่า Landmark
เป็นธุรกิจในตอนแรกแต่พอได้เข้าไปศึกษาก็พบว่า มันไม่ใช่อย่างที่คิด 100 % หากเรามองว่าการจ่ายเงินเพื่อแลกกับการศึกษาแนวคิดบางแนวคิดมันเป็นเรื่องธุรกิจ
แล้วการศึกษาในมหาวิทยาลัย
ทั้งของรัฐและเอกชนที่ต้องจ่ายค่าเล่าเรียนในหลักสูตรตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท
และปริญญาเอก หลักสูตรละหลายแสนบางหลักสูตรค่าใช้จ่ายสูงถึงหลักล้านก็มี การศึกษาที่ต้องจ่ายแพงขนาดนี้เราจะเรียกว่า “ธุรกิจการศึกษา ได้หรือไม่....???”
การศึกษาคือการลงทุน....ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง.....นะขอรับ...
การทำธุรกิจ....ถือเป็นเรื่องปกติทั่วไป..ที่ต้องพูดถึงเรื่องกำไรขาดทุน...หากคนเราไม่ตามกระแสแห่งโลกทุนนิยม..มากเกินพอดี...
คือไม่มีตัณหา(โลภะ โทสะ โมหะ) มาก....เอากำไรแต่พองาม...ผลิตเท่าที่จำเป็นไม่เบียดเบียนโลก-ธรรมชาติมากไป...ปัญหาการขาดแคลนทรัพยากรและปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆก็คงลดลงได้เยอะ....
การที่คนเราทำธุรกิจ..แบบเห็นแก่เอาเห็นแก่ได้...ละโมบโลภมาก...ขาดสติ..ดิ้นรนผลิตสินค้าและบริการเพื่อสนองตอบต่อความต้องการ(กิเสส)
อย่างไม่มีขอบเขต...เพียงเพราะให้ความสำคัญกับเงิน..ว่าเงินเป็นพระเจ้า..มีเงินคือมีทุกอย่าง..จึงพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อหาเงินมาซื้อความสุข...บำรุงบำเรอตน..โดยไม่สนถึงผลกระทบต่างๆที่จะตามมา...ถือเป็นความสุขแบบโลกิยะ....เป็นความสุขประเดี๋ยวประด๋าว...ไม่จีรังยังยืนอะไร
ทุกการลงทุน ก็ต้องมีต้นทุนๆที่เราเรียกว่าทรัพยากรนี้แหละ จะ 3M-4M-
ก็ว่ากันไป...ทำอะไรละที่ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายแม้กระทั้งการทำบุญสร้างวัดสร้างวา...การจัดสร้างวัตถุมงคลต่างๆสักอย่างก็มีต้นทุนแทบทั้งนั้น
การศึกษา Landmark ในแต่ละครั้งก็เช่นเดียวกันผู้จัดงานก็ต้องมีงบประมาณเพื่อใช้ในการดำเนินงาน...ถามว่า...เขาจะได้กำไรไหม...???...ก็ต้องตอบว่า..ได้แน่นอนละขอรับ..เพราะหากจัดงานแล้วขาดทุนคงไม่มีใครเขาทำกัน
แม้แต่องค์กรการกุศลที่ไม่แสวงหาผลกำไร..จัดงานคราใด..ขาดทุนเขาก็คงไม่จัด....
แล้วการลงทุนในการศึกษา Landmark ด้วยการจ่ายเงินเพื่อเข้าไปฟังอะไรที่ยังไม่รู้มาก่อนนี้ละ...จะเสี่ยงดีไหม..คุ้มค่าหรือเปล่า...ก็ต้องตอบได้คำเดียวว่า..
“หากเราพอใจในสินค้าและบริการ...เราก็ยอมจ่ายไป”ก็เท่านั้นละขอรับ...เพราะทุกวันนี้เราก็ยอมจ่ายเงินที่ดิ้นรนหามาได้ก็เพราะความพึงพอใจด้วยกันทั้งนั้น...แต่สินค้าที่หลายคนอาจมองว่าแสวงหาผลประโยชน์(หากิน)บนความเชื่อของคน...จนทำให้คนหลายคนมองว่า..คนที่เข้า
Landmark นั้นยอมขายจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ปล่อยให้ Landmark ครอบงำความคิดขาดอิสระ
ไม่เป็นตัวของตัวเอง...ไหม..(คงไม่น่ากลัวถึงขนาดนั้น)....เอาเป็นว่าถ้าสนใจแล้วไม่ติดขัดเรื่องปัจจัย..หรือมีคนถวายให้ได้เข้าศึกษา...ก็ลองเข้าไปฟังการศึกษาแนวนี้ดูครับ...สิ่งไหนเป็นประโยชน์ก็นำมาใช้..สิ่งไหนไร้สาละก็ปล่อยทิ้งไป...แต่ปัจจัย
Landmark ไม่คืนนะขอรับ ไม่พอใจในสินค้าและบริการ
ไม่มียินดีคืนเงิน.....
4.เสียดายตัวตนไหม....???
ยิ่งเรียนรู้ยิ่งละความเป็นตัวตนลงได้
ความเป็นตัวตนใช่ใครเขาจะมากำหนดเราได้
แต่อยู่ที่เรานี้แหละเป็นคนสร้างตัวตนเราขึ้นมา
แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าตัวตนของเราเป็นอย่างไร น้อยคนนักที่จะรู้ หากเราพิจารณาให้ดีๆจะเห็นได้ว่า
กว่าที่เราดำเนินชีวิตมาถึง ณ จุดๆนี้ เราคิด และตัดสินใจทำอะไรลงไปบนพื้นฐานของอะไร
“ความคิด ความรู้ จินตนาการ
และการพัฒนาตน life,idea,knowledge,imagination,development” ไงละ....เพราะการที่ผู้คนประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิตต่างกัน
ทำ พูด คิด ต่างกันและมีความสุขต่างกัน ก็มาจาก สัญชาติญาณ ตรรกะ
เหตุผล ทัศนคติ(Attitude) ความเชื่อ (belief) ค่านิยม(value) และอื่นๆอีกมากมายนี้แหละ
ที่หลอมรวมเป็นองค์ความรู้(knowledge) ที่มีอยู่ในตัวตนของคนเรา ทำให้เรามองโลก และใช้ชีวิตบนโลกแตกต่างกันไป
บางคนมีความสุข ประสบความสำเร็จในชีวิต
บางคนท้อแท้ชีวิตคิดสั้นฆ่าตัวตายลาโลกไปก็มีมาก...
พระพุทธศาสนา สอนให้คนละความยึดมั่นถือมั่น...ในอัตตา..คือตัวตน...การศึกษาแสวงหาความรู้เพื่อนำเอาความรู้มาเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการพัฒนาตนเองจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง...ผู้เขียนเองอยากบอกว่าการศึกษา
Landmark อาจเทียบไม่ได้เลยหากจะเปรียบเทียบกับคำสอนของพระพุทธเจ้า...แต่หากเปิดโอกาสให้ตัวตนที่เราได้สร้างขึ้นนี้ ลองได้รับฟังการแนะนำอย่างปราศจากอคติ ผมว่าได้ประโยชน์มากอยู่เหมือนกันนะขอรับ...ไม่ได้โม้...
5.พระพุทธเจ้าให้คำตอบทั้งหมดแล้ว.....
พระพุทธเจ้าให้คำตอบทั้งหมดแล้ว....ถูกต้องที่สุดครับพระอาจารย์....หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่แหละครับที่ถือว่าตอบโจทย์ทุกอย่างจริงๆ
หากคนเราได้ศึกษาเรียนรู้และนำมาประพฤติปฏิบัติกันอย่างจริงจัง (ประเด็นอยู่ที่ว่า ดีชั่วรู้หมด แต่อดไม่ได้ไงละขอรับ)....จะไม่ขอสาธยายในประเด็นนี้นะขอรับ
การที่ผมออกมานั่งเขียน 5 เหตุผลที่ผมยอมไป Landmark ไม่ใช่จะมาอธิบาย
หรือมาโต้แย้ง หรือสรรหาเหตุผลมารองรับความชอบธรรมให้กับ Landmark แต่ประการใดนะขอรับ เพราะแรกเริ่มเดิมทีผมก็ไม่อยากไป พอได้ไปก็พึ่งรู้และเข้าใจว่าการศึกษาอย่างนี้ก็มีด้วยครับ...(ป.ล.ไปกับท่าน พม.สุริยา หรือหลวงน้องยุทธครับ ไปด้วยกัน....แต่พักหลังนี้ท่านเหตุผลเริ่มมีเยอะ...หุหุหุ)
สุดท้ายท้ายสุดจริงๆ ....ทั้งหมดทั้งมวลก็ขึ้นอยู่ที่ตัวเราเองนี้แหละขอรับ"อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ"....ป.ล....เมื่อเราละตัวตนลงได้ ปล่อยวางลงได้...เราก็จะพับกับความว่าง(สุข)ครับ...ส่วน "Landmark บอกว่า เมื่อเราละตัวตนลงไม่ได้ ปล่อยว่างไม่ได้
อยู่กับโลกใบเก่า โลกใบเล็กๆๆที่เราสร้างขึ้นเอง เมื่อนั้นโลกใหม่สำหรับเราก็เกิดขึ้นได้ยาก....หากเราอยู่เหนือเหตุผล(กิเลส)
ได้ ปล่อยวางได้ เราจะพบกับโลกใบใหม่...เมื่อนั้นเราจะสร้างอะไรก็สร้างได้....หลายคนสร้าง
Landmark แล้ว ท่านละ สร้าง Landmark หรือยัง ????
คริๆๆๆๆ (เครื่องมือที่ Landmark มอบให้กับผู้เข้ารับการศึกษามีมากนะขอรับ
แต่บอกไม่ได้จริงๆ.......เพราะจบมาก็ยังงง...อยู่....)
สนใจลองเข้าไปหาข้อมูลดูครับ
ttp://www.landmarkworldwide.co.th/about-us/studies-and-articles